วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ติดตั้งกล้องวงจรปิด ip camera panasonic

software ที่ใช้มี 2 ตัวคือ
HNT-11 support streaming แบบ MJPEG เท่านั้น
HNT-15 support streaming แบบ MJPEG และ MPEG4
กล้องที่เอามาใช้ ให้ตั้งส่งภาพตามรุ่นของ software ที่ใช้
กรณีที่อยู่ในวง LAN เดียวกัน ให้ระบุเป็น fix ip แล้ว add เข้าระบบได้เลย

กรณีเป็นสาขา register กล้องที่ viewnetcam.com ถ้าสาขามีกล้องหลายตัวเราอาจ
1. register ตัวเดียวแล้วใช้ชื่อตัวนี้แทนสาขาทั้งหมด แล้วตั้ง port ไม่ให้ซ้ำกัน เช่น 2001,2002,2003 ให้ตรงกันในโปรแกรม,กล้อง และ router (forward port) กรณีนี้มีข้อเสียคือ ถ้าตัวที่ regis ไว้มีปัญหา จะมีปัญหาหมดทุกตัวในสาขา

2. register กล้องทุกตัว ที่เหลือเหมือนข้อ 1

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

WiFi อะไรกันแน่

ไวไฟ = เด็กสาวที่มีประจุสูง!

เอ่อ ไม่ใช่คับ ดูเหมือนคำถามง่ายๆ แต่กลับมีอะไรมากกว่าที่คิด เราเห็นสัญลักษณ์นี้กับอุปกรณ์ wireless ส่วนใหญ่นึกว่ามันหมายความว่า wireless lan แค่นั้น แต่

WiFi ไม่ใช่มาตรฐานของ Wireless LAN มาตรฐาน Wireless LAN คือ IEEE802.11 a/b/g/i/e/...
WiFi เป็นเพียงองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทดสอบการทำงานเข้ากันได้ของโปรดักส์ Wireless LAN ครับ ผมทำงานอยู่สายนี้มานานเห็นคนเข้าใจผิดกันเยอะ บางทีโปรดักส์ Wireless LAN ออกใหม่อาจยังไม่ได้ WIFI certified ก็ได้เพราะต้องให้เวลา WIFI org ทดสอบครับ
Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทดสอบการทำงานเข้ากันได้ของโปรดักส์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก เช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี WiFi ด้วยหละ! นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11

Wi-Fi เป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 802.11 ซึ่งมีข้อดีก็คือมันสามารถส่งข้อมูลแบบไร้สายได้รวดเร็ว ดังนั้นมันจึงเหมาะที่จะนำมาสร้างเครือข่ายไร้สายสำหรับการเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าหากัน หรืออาจจะเอา PDA มาเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ก็ยังได้หาก PDA รุ่นนั้นๆมัน สนับสนุน Wi-Fi ข้อดีอีกหลายข้อของ เทคโนโลยี 802.11 ก็พอจะเล่าให้ฟังคร่าวดังต่อไปนี้ครับ การทำงานสามารถสื่อสารได้ไกลกว่าการใช้ Bluetooth ,เป็นที่นิยมมากกว่า และมันคือระบบที่มีการทำงานคล้ายกับระบบ Network แบบมีสายมากที่สุด

โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์ และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมเรียกว่า ฮอตสปอต
ความเร็วในปัจจุบันเริ่มตั้งแต่ 11 mbps (802.11b), 54 mbps (802.11g) และเริ่มใช้กันบ้างแล้วกับความเร็ว300 mbps (802.11n) แต่ยังไม่ประกาศเป็นมาตรฐาน (มิถุนายน 2551) อันนี้ไม่พูดถึงความเร็ว 108 mbps ที่ต่างผู้ผลิตกำหนดกันเองนะครับ

แล้ว Hot spot คืออะไร? ( Wi-Fi นอกบ้าน? ) เรามักจะได้ยินคำว่า Hot spot มากขึ้น แล้วเจ้า Hot spot มันมาเกี่ยวโยงอะไรกับ Wi-Fi ได้ไง เดี๋ยวเรามาดูกันครับ ผมขอเกริ่นเล็กๆน้อยๆกันก่อนว่า ในยุคสมัยนี้การที่เราจะเล่น อินเตอร์เน็ตขณะอยู่นอกบ้านนั้นเราสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ Hotspot เป็นบริการ อินเตอร์เน็ตสาธารณะไร้สายความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยีของ Wireless Lan หรือที่เรียกกันติดปากว่า Wi-Fi ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้บริการกันมากขึ้นเรื่อยตามแหล่งชุมชน ต่างๆ เช่น สนามบิน ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล การใช้บริการ Hotspot นี้ สิ่งหลักที่เราต้องมีก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ PDA และ Wireless Lan card แต่หาก Notebook หรือ PDA บางรุ่นมี Wi-Fi ในตัวก็สบายไปหน่อยไม่ต้องไปหาซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ข้อดีของการใช้ Wi-Fi ก็คือ สถานที่ที่บริการ อินเตอร์เน็ตสาธาณะที่เรียกกันว่า Hot Spot นี้เขามักจะบริการด้วย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แบบเปิดเว็บปุ๊ปมาปั๊ป ค่อนข้างทันใจ และเราสามารถยก office ไปนั้งทำงานตามร้านกาแฟได้อย่างสบายๆ เพราะข้อมูลงานต่างๆของเรานั้นก็เก็บไว้ใน Notebook ของเราอยู่แล้ว แบบประมาณว่าจัดประชุมนัดลูกค้ามาคุยกันนอกสถานที่เลยก็ได้ แต่ Hot Spot ในบ้านเรานั้นเรียกว่ายังใหม่ กิ๊ก อยู่เลยครับ ทำให้อัตราค่าบริการยังค่อนข้างสูงมากทีเดียว แต่บางที่ก็บริการฟรีนะครับ จุดให้บริการก็เริ่มทยอยเปิดกันเรื่อยๆ แต่เรื่อง Hotspot นี้ในบ้านเรานับว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มากพอสมควร การใช้งานอาจจะยังขัดๆเขินกันบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับในต่างประเทศนั้นมันเป็นสิ่งที่ฮิตมากทีเดียว เพราะว่ามันเป็นที่นิยมอย่างไม่น่าเชื่อ

ดูข้อมูล WIFI org ได้ที่ www.wi-fi.org/
อ้างอิง :
ข้อมูลบางส่วนจาก mr.plam
วิกิพีเดีย th.wikipedia.org/wiki/Wi-Fi

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ถ่านชาร์ตแบบ NiMH

ถ่านชาร์จได้ แบบ NiMH มีข้อดีมากมายครับ ที่แน่ๆ ช่วยให้เราประหยัดเงินเพราะสามารถนำมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ แต่มันก็มีข้อเสียที่ใหญ่หลวงอยู่เหมือนกัน นั่นคือ มันจะเก็บไฟไม่ได้นาน หากชาร์จให้เต็มวันนี้แล้วเก็บ อีกสองสัปดาห์นำมาใช้ใหม่ ก็แทบจะไม่เหลือไฟแล้ว เหมือนโอ่งใส่น้ำที่มีรูรั่ว วันนี้คุณเติมน้ำเต็ม อีกสองอาทิตย์ น้ำหายไปจนหมดโอ่ง อาการนี้ เรียกว่า self discharge คือ คายประจุได้เอง แม้จะไม่ได้ใช้งานอะไร ตามหลักแล้ว ถ่านแบบ NiMH จะมีอัตรา self discharge ประมาณ วันละ 1-2% ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เก็บด้วย หากเก็บในที่เย็น ก็จะ self discharge ช้าลง แต่บ้านเราอากาศร้อน ถ่านก็ยิ่งคายประจุเร็วขึ้นผู้ใช้ถ่านชาร์จ ก็ต้องคอยท่องจำให้ขึ้นใจว่า ควรชาร์จก่อนใช้เสมอ ลืมไม่ได้เด็ดขาด ทำให้ถ่านชาร์จไม่เหมาะกับการใช้กับอุปกรณ์บางชนิดที่กินไฟน้อยแต่ใช้นานๆ เช่น รีโมทโทรทัศน์ นาฬิกาแขวนผนัง หรือเครื่องคิดเลข เพราะใช้ได้ไม่นานเท่าไหร่ไฟก็หมดเสียแล้ว ที่หมดไม่ใช่เพราะอุปกรณ์กินไฟหมด แต่หมดเพราะมันคายประจุเองแต่เดี๋ยวนี้มีถ่านชาร์จแบบใหม่ออกมา เรียกว่าชนิด Low Self Discharge การทำงานก็เหมือนกับถ่านชาร์จแบบ NiMH ธรรมดา สามารถชาร์จกับแท่นเดิมก็ได้ แต่ต่างกันตรงที่มันเก็บไฟได้นานกว่ามาก ตาม spec ของผู้ผลิตระบุไว้ว่า ชาร์จเต็ม ผ่านไปหกเดือน ไฟก็ยังอยู่ถึง 85% คายประจุไปเพียง 15% เท่านั้น อัตราคายประจุต่ำแบบนี้ ใกล้เคียงแบตเตอรี่ชนิด Lithium Ion เลยทีเดียวผู้ใช้กล้องน่าจะชอบถ่านแบบนี้นะครับ เพราะ เราไม่ได้ใช้กล้องทุกวัน ลองนึกดูว่า วันดีคืนดี มีงูเลื้อยเข้ามาในบ้าน เราอยากจะถ่ายรูปงู ถ้าเป็นถ่านแบบเก่า เราก็ต้องไปชาร์จถ่านก่อน กว่าจะเสร็จ งูก็คงเลื้อยหายไปถึงไหนแล้ว แต่ถ้าเราใช้ถ่าน Low Self Discharge กล้องของเราก็จะมีไฟพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่พลาดช็อตเด็ดๆแน่นอน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์อื่นที่ถ่านชาร์จแบบเดิมไม่เหมาะ เช่น ไฟฉาย นาฬิกา เครื่องคิดเลข หรือ รีโมทคอนโทรลฯลฯ ได้ดีอีกด้วย

อ้างอิง : ผู้จัดการรายสัปดาห์

ทำไมจึงไม่ควรใช้ถ่าน Alkaline กับกล้องดิจิตอล?

มีคำถามว่า ทำไม ใช้ถ่าน alkaline กับกล้องดิจิตอลแล้วหมดเร็วมาก สงสัยว่า ถ่าน alkaline มีความจุกี่ mAh กันแน่? ทาง Oska Lab เคยมีการทดสอบถ่าน alkaline ว่ามีความจุเท่าไหร่ วัดโดยการดึงกระแสต่ำไปเรื่อยๆ ผลที่ออกมา ถ่าน alkaline ดีๆขนาด AA จะมีความจุถึง 2800-3000 mAh ในขณะที่ถ่านชาร์จ มีความจุอย่างมากก็แค่ 2700-2800 mAH ดูตามนี้แล้ว ถ่าน alkaline ก็น่าจะถ่ายรูปได้มากกว่าถ่านชาร์จ แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม หลายๆคนคงเคยลองมาแล้ว ถ่าน alkaline เอามาใส่กล้อง ถ่ายได้ 5 รูป 10 รูปก็ไฟหมด ยิ่งถ่านราคาถูกยิ่งแล้วใหญ่ แค่เปิดกล้องขึ้นมากล้องก็ฟ้องว่า battery low แล้วก็ปิดไปเลย แต่ถ่านชาร์จแค่ 2000 mAh กลับถ่ายได้ร้อยกว่ารูปเหตุผลคือ ถ่าน alkaline (และถ่านใช้แล้วทิ้งอื่นๆ) มีความต้านทานภายในสูง จึงไม่สามารถจ่ายกระแสไฟออกมามากๆได้ แม้ความจุจะเยอะก็จริง แต่จ่ายกระแสไฟได้น้อย กล้องดิจิตอลเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟสูงมากเป็นช่วงๆ เมื่อกล้องต้องการไฟ ถ่านจ่ายให้ไม่ไหว แรงดันไฟจึงตก กล้องจึงเข้าใจว่า ถ่านหมดแล้ว ก็เลยปิดตัวเองลงเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ลองนึกถึงรถที่มีถังน้ำมันขนาดใหญ่มาก มีน้ำมันจุอยู่เต็ม แต่ท่อที่ส่งน้ำมันเข้าเครื่องมีขนาดเล็กมาก เมื่อเครื่องยนต์ถูกเร่งขึ้น เครื่องก็ต้องการสูบน้ำมันมากขึ้นเพื่อมาผลิตเป็นพลังงาน แต่เนื่องจากท่อเล็กเกินไปไม่สามารถจ่ายกระแสน้ำมันได้อย่างเพียงพอ เครื่องยนต์ก็สะดุด ไม่สามารถเร่งขึ้นมาได้แต่ในทางกลับกัน ถ่านชาร์จแบบ NiMH แม้จะบรรจุพลังงานน้อยกว่า แต่ความต้านทานภายในต่ำ สามารถจ่ายกระแสได้อย่างเต็มที่ไม่ว่ากล้องจะต้องการพลังงานมากแค่ไหนก็จ่ายให้ได้โดยที่แรงดันไม่ตก จึงสามารถใช้ถ่ายรูปได้เป็นร้อยๆรูป เปรียบเหมือนน้ำมันถังเล็กกว่าแท่ท่อส่งน้ำมันใหญ่ เครื่องยนต์จะต้องการสูบน้ำมันไปใช้แค่ไหนก็จ่ายให้ได้อย่างเพียงพอ จนน้ำมันหมดถังนี่คือเหตุผลว่าทำไม แม้กล้องคุณจะใช้ถ่านขนาด AA ที่หาซื้อได้ง่าย แต่คุณก็ยังควรใช้ถ่านชาร์จเป็นหลัก ส่วนถ่าน alkaline นั้น ควรใช้ในกรณีเมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้นครับ อ้างอิง : ผู้จัดการรายสัปดาห์

ปัญหาแบตเตอรี่กล้องหมดไวในอากาศหนาว

เวลาไปเที่ยวเมืองนอกช่วงที่มีอากาศหนาวเราจะใช้กล้องถ่ายรูปได้สั้นลงเพราะอะไร เจอคำตอบแล้ว ลองอ่านดู
แบตเตอรี่จะหมดไวกว่าปกติ เช่น เคยถ่ายได้ 100 ภาพ แต่พอมาเจออากาศหนาวกลับถ่ายได้แค่ 40 ถึง 60ภาพ แบตเตอรี่ก็หมดแล้ว สาเหตุก็คือ ในอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ สารเคมีในแบตเตอรี่ไม่สามารถทำปฏิกิริยากันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนในอุณหภูมิปกติ เป็นเหตุให้แบตเตอรี่จ่ายไฟได้น้อยลง อากาศยิ่งหนาวมากแบตเตอรี่ก็จะยิ่งจ่ายไฟได้น้อย แต่แบตเตอรี่ไม่ได้เสียนะครับ พอกลับมาใช้ในอุณหภูมิปกติมันก็จะทำงานได้เหมือนเดิมวิธีแก้ปัญหานั้นง่ายมากครับ เวลาที่คุณไปในที่อากาศหนาว แน่นอนว่าคุณคงไม่ใส่เสื้อกล้าม หรือว่าเสื้อสายเดี่ยวออกไปเล่นสกีใช่ไหมครับ คุณก็ต้องใส่เสื้อกันหนาวอย่างหนาๆอยู่แล้ว เสื้อพวกนี้มักจะมีกระเป๋าอยู่ด้านในของเสื้อและด้านนอกด้วย ตอนที่ยังไม่ได้ใช้กล้อง เราก็ถอดแบตเตอรี่ออกจากกล้อง แล้วใส่ในกระเป๋าภายในเสื้อหนาวเพื่อให้แบตเตอรี่ได้รับความอบอุ่นจากร่างกายเราอยู่ตลอดเวลา ส่วนตัวกล้องก็ให้คล้องคอเอาไว้ หรือ เอาใส่กระเป๋าด้านนอก ที่ไม่แนะนำให้เอามาใส่กระเป๋าในเสื้อเพราะว่า กล้องจะเย็นมากพอเอาเข้ามาไว้ในเสื้อซึ่งมีความชื้นจากตัวเรา ไอน้ำจะไปเกาะที่กล้องอาจทำให้กล้องมีปัญหาได้ เมื่อจะถ่ายภาพก็เอาแบตเตอรี่มาใส่ในกล้อง พอใช้เสร็จแล้วก็ถอดแบตเตอรี่เก็บในเสื้อตามเดิม เพียงเท่านี้รับรองได้เลยว่า คุณก็จะสามารถใช้กล้อง ถ่ายภาพแอคชั่นมันๆกลับมาอวดเพื่อนได้อย่างจุใจ ไม่มีปัญหาแบตเตอรี่หมดไวอีกต่อไปครับ อย่างไรก็ตามอย่าลืมสำรองแบตเตอรี่ไปให้เพียงพอต่อการใช้งานด้วยนะครับ!
อ้างอิง : ผู้จัดการรายสัปดาห์

ซื้อมือถือมาใหม่ ชาร์จแบตครั้งแรกกี่ชั่วโมง?

พอดีอ่านหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ มีบทความเกี่ยวกับการชาร์ตแบตฯซึ่งเราเคยเข้าใจแบบนึงมานานพออ่านแล้วก็ อ้อเราเข้าใจผิดมาตลอดก็เลยขออนุญาติคัดมาเก็บไว้เป็นความรู้
อาจกล่าวได้ว่า คำถาม ?ชาร์จแบตครั้งแรก กี่ชั่วโมง?? เป็นคำถามยอดฮิตที่คนขายมือถือและคนขายแบตเตอรี่จะต้องตอบบ่อยที่สุด แต่เชื่อไหมครับว่า นี่เป็นคำถามที่คนขายตอบกันผิดๆมากที่สุดเลยครับ เพราะที่มักจะตอบกันว่า ชาร์จครั้งแรก 8 ชั่วโมง (หรือบางคนก็บอก 12 , 16 หรือไปถึง 24 ชมก็มี บางคนมีแถมด้วยว่าต้อง 3 รอบนะ) ล้วนแล้วแต่เป็นคำแนะนำที่ตกทอดมาจากยุคที่มือถือสมัยก่อน ใช้แบตเตอรี่แบบ NiCAD หรือ NiMH ซึ่งในปัจจุบัน มือถือทั้งหมดใช้แบตเตอรี่ Lithium Ion กันหมดแล้ว คำแนะนำแบบเดิมจึงใช้ไม่ได้ ระบบการชาร์จของ NiCAD/NiMH นั้น จะมีสองขั้นตอน คือ 1. ชาร์จเร็ว แล้วตามด้วย 2.ชาร์จกระแสต่ำ (trickle charge) ซึ่งการชาร์จเร็วนั้น แบตเตอรี่จะประจุไฟได้เพียง 90-95% จึงต้องมีการชาร์จช้าอีกระยะหนึ่งเพื่อเติมให้เต็ม และการชาร์จช้าจะไม่มีการตัด ที่คุณเห็นว่าช่วงแรกไฟเป็นสีแดงนั้นคือการชาร์จเร็ว พอเปลี่ยนเป็นสีเขียว ระบบไม่ได้ตัดการชาร์จทั้งหมด แต่จะเปลี่ยนมาเป็นชาร์จกระแสต่ำไปเรื่อยๆ เพื่อให้แบตเตอรี่เต็ม 100% เราจึงควรปล่อยเอาไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง เพื่อให้เต็มร้อย เป็นการกระตุ้นแบตเตอรี่ให้ทำงานเต็มที่ แต่ในการชาร์จ Lithium Ion นั้น ระบบจำเป็นต้องแม่นยำมากเพื่อความปลอดภัย เมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้วก็จะต้องตัดการชาร์จอย่างสมบูรณ์ ไม่มีการจ่ายไฟเข้าแบตเตอรี่อีก ไม่มีการ trickle charge ใดๆทั้งสิ้น หลังจากชาร์จเสร็จแล้วจะทิ้งแบตเตอรี่เอาไว้ต่อในที่ชาร์จ หรือเอาแบตออกมาวางไว้บนโต๊ะกินข้าวเฉยๆก็ไม่ต่างกันครับ ตัดแล้วคือตัดจริงๆ แล้วจะทิ้งเอาไว้ 8 ชั่วโมง 12 ชั่วโมงไปเพื่ออะไรกันละครับ? สรุปว่า หากคุณใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium Ion ไม่ว่าจะในมือถือ, กล้อง, หรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค ชาร์จครั้งแรกหรือครั้งไหนๆก็ตาม เอาแค่เต็มก็พอครับ พอแบตเต็มแล้ว เอาไปใช้ได้เลย ไม่ต้องแช่ต่อให้เสียเวลาครับ
อ้างอิงจาก : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ขั้นตอนการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


หมดปัญญาซ่อมเองทำอย่างไร ? ปัญหาหรืออาการเสียหลายอย่างจำเป็นจะต้องใช้ทักษะในการตรวจซ่อมสูง ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเป็นพิเศษ แต่ถ้าคุณไม่มีก็อย่าเสี่ยงซ่อมเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น ทางที่ดีส่งซ่อมดีกว่า เช่น งานบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค เปลี่ยนแผ่นวงจรบนฮาร์ดดิสก์ ซ่อมเมนบอร์ด หลดภาพของจอมอนิเตอร์เสื่อม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้แนะนำให้ส่งซ่อมดีกว่า หรือถ้าอุปกรณ์ ยังอยู่ในประกันก็ส่งเคลมดีที่สุด
อ้างอิง: จากหนังสือซ่อมคอมอย่างเซียนพันธ์ทิพย์

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

IEEE 802.11n

วันก่อนไปสัมมนา วิทยากรถามว่า IEEE802.11N วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดเท่าไร เราตอบเลย 108 mbps มั่นใจมาก ได้ของรางวัลแน่ ผิดๆๆๆ ผิดนะคร๊าาบ คือคำตอบ ความอายคือรางวัลที่ได้รับ เข้าใจผิดอยู่ตั้งนาน เลยต้องมาหาข้อมูล แล้วบันทึกไว้ จะได้จำ!
IEEE802.11N หรือเรียกกันง่ายๆ ก็ Wireless N ปัจจุบันยังเป็น draft อยู่ ยังไม่ได้ประกาศมาตรฐานออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 300 Mbps และมีพื้นที่ให้บริการไกลขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี MIMO ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลจากเสาสัญญาณหลายต้นพร้อมกัน ทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นและยังใช้ความถี่แบบ Dual Band คือทั้ง 2.4 และ 5 GHz ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประโยชน์ของ RFID

ในปัจจุบันRFID เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การประยุกต์เทคโนโลยี RFID มีรูปแบบหลากหลายด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันแต่อยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน นั่นคือการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อการระบุตัวตนของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้าย RFID แทนการระบุด้วยวิธีการอื่น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า สามารถอ่านและเขียนข้อมูลกลับลงไปยังแทกส์ได้ โดยสามารถใส่ข้อมูลอื่นๆ เช่นลักษณะของสินค้า,สถานที่ผลิต,วันเดือนปีที่ผลิต ตามแต่จะออกแบบใช้ ความเหนือชั้นของ RFID ที่มีมากกว่า barcode มีหลายอย่างโดยเฉพาะสามารถอ่านข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ไม่ต้องมองเห็นแทกส์ ทนต่อความเปียกชื้น สามารถอ่านค่าได้แม้ในขณะที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ


ปัจจุบันมีการนำระบบ RFID มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ อย่างมากมาย อาทิ


- ทดแทนระบบบาร์โค้ด (Barcode) รุ่นเก่า


- Access Control / Personal Identification หรือการเข้าออกอาคารแทนการใช้บัตรแม่เหล็กรูดแบบเดิม เนื่องจากบัตรแม่เหล็กรูดมากๆ ก็จะเสื่อม แต่บัตรแบบ RFID เป็นเพียงการแตะหรือแสดงผ่านหน้าเครื่องอ่านเท่านั้น อีกทั้ง ยังสามารถตรวจสอบเวลาเข้า – ออกงานของพนักงานได้อีกด้วย นอกจากนี้จึงใช้เป็นบัตรเข้า-ออกตามอาคาร และบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าใต้ดิน


- ด้านน่าสนใจคือ ห่วงโซ่อุปทาน และระบบโลจิสติกส์ ภาพที่จะเห็นในโรงงานอนาคตคือ สามารถติด Tag ไว้กับชิ้นงาน เมื่อชิ้นงานผ่านสายพานขนสินค้าในโรงงาน แต่ละแผนกจะรู้ว่าต้องทำอย่างไร ติดอะไรบ้าง และต้องส่งไปที่ไหนต่อ รวมถึงการจัดการสินค้าในคลังสินค้า ว่ารับสินค้ามาเมื่อใด จะต้องเก็บไว้ที่ไหน จะส่งไปที่ไหนยังไง ใครจะมารับ ส่วนภาพที่ผู้บริโภคจะเห็นคือ การซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต เวลาซื้อก็หยิบใส่ตะกร้าคิดเงินผ่านเครื่องอ่าน RFID ครั้งเดียวคิดเงินได้ทันที ไม่ต้องหยิบมายิงบาร์โค้ดทีละชิ้นให้เสียเวลา และเตือนผู้ซื้อได้หากสินค้าที่ซื้อหมดอายุ และจ่ายเงินผ่านบัตรเงินสดที่มี tag rfid หรือแม้แต่ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในประเทศไทย ปัจจุบัน วันที่บันทึกเรื่องนี้ก็ได้เห็น true ประกาศ ซิมrfid ออกมาแล้วทำให้สามารถใช้ได้กับมือถือรุ่นใหนก็ได้ ซึ่งต่อไปจะสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มากมาย


- ใช้กับรถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อช่วยจัดการระบบขนส่งของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมตรวจสอบได้ว่าเมื่อเอาชิพไปติดกับสินค้าเพื่อเข้าสู่ระบบขนส่ง ข้อมูลทั้งหมดจะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมตรวจสอบว่าเริ่มส่งสินค้าเมื่อใด ส่งที่ไหน อย่างไร ถ้าหากสินค้าถูกส่งไปผิดที่หมาย ระบบก็สามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้ทันที ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวเสริมให้ระบบขนส่งรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น


- ในอนาคตกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีนโยบายที่จะพัฒนาทะเบียนรถอัจฉริยะที่ติดตั้งเทคโนโลยี RFID โดยเป็นความร่วมมือระหว่างเนคเทค ซอฟต์แวร์ปาร์ค ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และบริษัท ไอแดนทิไฟ ร่วมกันพัฒนาต้นแบบชิพติดเครื่องยนต์เพื่อใช้กับระบบทางด่วนแบบใหม่ ที่สามารถคำนวณราคาร่วมค่าบริการทางด่วน โดยใช้บัตรเงินสดติดชิป RFID โดยไม่ต้องต่อจอดรถต่อคิวเสียค่าทางด่วนเหมือนเคย


- บริษัท FedEx และ UPS ได้ติดตั้ง RFID เข้ากับสินค้าที่จัดส่ง ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลใน website ได้ว่าสินค้าที่ตนส่งนั้น ปัจจุบันอยู่ที่ใดในโลก


- ระบบรักษาความปลอดภัยและติดตามสัมภาระ ในอุตสาหกรรมการบินใช้ RFID ฝังไปกับบัตรโดยสาร (Boarding Pass) จะทำให้ระบบการตรวจเอกสารสำหรับการเดินทางโดยเครื่องบินสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง


- ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) ซึ่งทางสหรัฐอเมริกากำลังกำหนดมาตรฐานการเข้าออกประเทศ เพื่อป้องกันผู้ก่อการร้าย รวมถึง e-citizen ด้วย


- การบริหารระบบคลังสินค้า (Inventory Management) โดยใช้ RFID ทำให้สามารถบริหารสต๊อกด้วยระบบ Just in time (JIT) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นระบบ RFID ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านต้นทุนในการบริหารสินค้าคงคลัง ทำให้ไม่ต้องสต๊อกของมากเกินความจำเป็น เงินทุนไม่จม และไม่ต้องมีภาระรับผิดชอบจากปัญหาของเสียจากการเก็บสินค้านานเกินไป


- ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ (Immobilizer) ป้องกันการขโมยรถยนต์


- ห้องสมุดดิจิตอล ใช้ในการยืมคืนหนังสืออัตโนมัติและใช้ตรวจสอบว่าหนังสืออยู่ผิดที่หรือเปล่า มีหนังสือเหลืออยู่ที่ชั้นกี่เล่มโดยไม่ต้องไปนับด้วยตัวเอง


- โรงพยาบาลบางแห่งในเอเชียได้นำป้ายระบบนี้มาใช้ในการระบุคนไข้โรคซาร์ (SARS) และสถาบันด้านสาธารณสุขบางแห่งเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในการใส่ประวัติการเจ็บป่วยและสุขภาพของคนไข้ให้ห่วงที่ผูกข้อมือขณะอยู่ในโรงพยาบาล


- กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณกว่า 11,000 ล้านบาท ในการพัฒนา RFID มาติดตามการขนส่งอาวุธ เพื่อป้องกันการโจรกรรม


- บ่อนคาสิโนได้นำ RFID ฝังลงในชิปที่ใช้แทนค่าเงิน ซึ่งจะมีประโยชน์โดยช่วยป้องกันการนำแผ่นชิปปลอมมาใช้


- เทคโนโลยี “เวอร์ชิป” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีติดตามตัวขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าว ฉีดเข้าในร่างการมนุษย์ เพื่อใช้ในการติดตามตัวและช่วยเหลือจากการถูกลักพาตัว โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยี










RFID กำลังกลายเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกต้องติดตามเมื่อมีการประยุกต์ใช้ในการค้าระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของโลกหลายรายได้มีการใช้งาน RFID อย่างจริงจัง รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐและหลายๆประเทศได้ผลักดันให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อให้เกิดมาตรฐานกลางขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั่วโลก







รูปที่ 1 แสดงการรับส่งข้อมูล RFID และระบบคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปแล้ว องค์กรต่างๆเข้าใจผิดว่า RFID จะมาแทนที่ barcode แค่นั้น ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ของ RFID ที่ไม่ค่อยคุ้มค่า และยังไม่ได้มองเผื่ออนาคต ทำให้ไม่มีการเตรียมการสำหรับการจัดการข้อมูล Transaction ที่จะเกิดขึ้นในแบบ real-time จากระบบ RFID โดยมักจะสนใจเพียงในแง่ว่าทำอย่างไรให้ Tags ราคาถูกลงหรือมองที่ค่าใช้จ่ายเพียงด้านเดียว และมีน้อยมากที่จะสนใจในแง่ของข้อมูลที่จะสามารถเก็บได้จากระบบ RFID เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถ้าเราสนใจที่จุดนี้ จะสามารถมองภาพรวมของระบบที่จะเกิดขึ้น พร้อมวางแผนและดำเนินการพัฒนาระบบให้ตอบสนองกับกลยุทธ์ขององค์กร และจะประสบปัญหาด้านการ integration น้อยกว่าในระยะยาว ซึ่งแนวความคิดของ middleware จะมารองรับตรงจุดนี้ได้


โอกาสหน้าจะมาเขียนถึงหลักการทำงานของ RFID ในเชิงกายภาพและ specification ของอุปกรณ์ มาตรฐานต่างๆ เช่น EPC GS1 รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้ rfid มาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

RFID ? อะไรเหรอ

เทคโนโลยี RFID มาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Frequency Identification เป็นวิธีการที่ใช้จัดเก็บและเรียกข้อมูลของวัตถุจากระยะไกล โดยมีองค์ประกอบหลักๆอยู่ 2 ส่วนคือ Tag หรือ Transponder ใช้ติดกับวัตถุต่างๆที่เราต้องการ เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เช่น กล่องสินค้า ป้ายฉลาก บัตร สัตว์ หรือแม้แต่ที่ตัวบุคคล โครงสร้างภายในแทกส์ ประกอบด้วย ชิป และขดลวด ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศที่คอยรับ-ส่งสัญญาณ คลื่นวิทยุไปยังเครื่องรับ-ส่ง ส่วนที่สองก็คือ เครื่องสำหรับอ่าน/เขียนข้อมูลในแทกส์ RFID (RFID Reader หรือ Interrogator) ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
จุดเด่นของระบบ RFID 1. การอ่านข้อมูลจากแทกส์ได้พร้อมกันหลายๆ แทกส์ โดยแบบไร้สัมผัส




2. สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนะวิสัยไม่ดี หรือสามารถอ่านค่าได้ในขณะที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น สินค้าที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต




3. ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก




4. สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้องรวดเร็ว




5. สามารถสื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายอย่างเช่น น้ำ, พลาสติก, กระจก หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆ ในขณะที่บาร์โค้ด ทำไม่ได้




ตัวอย่างรูปอุปกรณ์ tags rfid



ตัวอย่างรูปเครื่อง รับ-ส่งสัญญาณ (Interrogator)


วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บทนำ

blog นี้สร้างเพื่อเก็บข้อมูลความรู้ต่างๆ ทางด้านไอทีที่ได้จากประสบการณ์จริงและรวบรวมจากแหล่งต่างๆ