วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประโยชน์ของ RFID

ในปัจจุบันRFID เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การประยุกต์เทคโนโลยี RFID มีรูปแบบหลากหลายด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันแต่อยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน นั่นคือการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อการระบุตัวตนของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้าย RFID แทนการระบุด้วยวิธีการอื่น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า สามารถอ่านและเขียนข้อมูลกลับลงไปยังแทกส์ได้ โดยสามารถใส่ข้อมูลอื่นๆ เช่นลักษณะของสินค้า,สถานที่ผลิต,วันเดือนปีที่ผลิต ตามแต่จะออกแบบใช้ ความเหนือชั้นของ RFID ที่มีมากกว่า barcode มีหลายอย่างโดยเฉพาะสามารถอ่านข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ไม่ต้องมองเห็นแทกส์ ทนต่อความเปียกชื้น สามารถอ่านค่าได้แม้ในขณะที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ


ปัจจุบันมีการนำระบบ RFID มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ อย่างมากมาย อาทิ


- ทดแทนระบบบาร์โค้ด (Barcode) รุ่นเก่า


- Access Control / Personal Identification หรือการเข้าออกอาคารแทนการใช้บัตรแม่เหล็กรูดแบบเดิม เนื่องจากบัตรแม่เหล็กรูดมากๆ ก็จะเสื่อม แต่บัตรแบบ RFID เป็นเพียงการแตะหรือแสดงผ่านหน้าเครื่องอ่านเท่านั้น อีกทั้ง ยังสามารถตรวจสอบเวลาเข้า – ออกงานของพนักงานได้อีกด้วย นอกจากนี้จึงใช้เป็นบัตรเข้า-ออกตามอาคาร และบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าใต้ดิน


- ด้านน่าสนใจคือ ห่วงโซ่อุปทาน และระบบโลจิสติกส์ ภาพที่จะเห็นในโรงงานอนาคตคือ สามารถติด Tag ไว้กับชิ้นงาน เมื่อชิ้นงานผ่านสายพานขนสินค้าในโรงงาน แต่ละแผนกจะรู้ว่าต้องทำอย่างไร ติดอะไรบ้าง และต้องส่งไปที่ไหนต่อ รวมถึงการจัดการสินค้าในคลังสินค้า ว่ารับสินค้ามาเมื่อใด จะต้องเก็บไว้ที่ไหน จะส่งไปที่ไหนยังไง ใครจะมารับ ส่วนภาพที่ผู้บริโภคจะเห็นคือ การซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต เวลาซื้อก็หยิบใส่ตะกร้าคิดเงินผ่านเครื่องอ่าน RFID ครั้งเดียวคิดเงินได้ทันที ไม่ต้องหยิบมายิงบาร์โค้ดทีละชิ้นให้เสียเวลา และเตือนผู้ซื้อได้หากสินค้าที่ซื้อหมดอายุ และจ่ายเงินผ่านบัตรเงินสดที่มี tag rfid หรือแม้แต่ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในประเทศไทย ปัจจุบัน วันที่บันทึกเรื่องนี้ก็ได้เห็น true ประกาศ ซิมrfid ออกมาแล้วทำให้สามารถใช้ได้กับมือถือรุ่นใหนก็ได้ ซึ่งต่อไปจะสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มากมาย


- ใช้กับรถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อช่วยจัดการระบบขนส่งของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมตรวจสอบได้ว่าเมื่อเอาชิพไปติดกับสินค้าเพื่อเข้าสู่ระบบขนส่ง ข้อมูลทั้งหมดจะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมตรวจสอบว่าเริ่มส่งสินค้าเมื่อใด ส่งที่ไหน อย่างไร ถ้าหากสินค้าถูกส่งไปผิดที่หมาย ระบบก็สามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้ทันที ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวเสริมให้ระบบขนส่งรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น


- ในอนาคตกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีนโยบายที่จะพัฒนาทะเบียนรถอัจฉริยะที่ติดตั้งเทคโนโลยี RFID โดยเป็นความร่วมมือระหว่างเนคเทค ซอฟต์แวร์ปาร์ค ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และบริษัท ไอแดนทิไฟ ร่วมกันพัฒนาต้นแบบชิพติดเครื่องยนต์เพื่อใช้กับระบบทางด่วนแบบใหม่ ที่สามารถคำนวณราคาร่วมค่าบริการทางด่วน โดยใช้บัตรเงินสดติดชิป RFID โดยไม่ต้องต่อจอดรถต่อคิวเสียค่าทางด่วนเหมือนเคย


- บริษัท FedEx และ UPS ได้ติดตั้ง RFID เข้ากับสินค้าที่จัดส่ง ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลใน website ได้ว่าสินค้าที่ตนส่งนั้น ปัจจุบันอยู่ที่ใดในโลก


- ระบบรักษาความปลอดภัยและติดตามสัมภาระ ในอุตสาหกรรมการบินใช้ RFID ฝังไปกับบัตรโดยสาร (Boarding Pass) จะทำให้ระบบการตรวจเอกสารสำหรับการเดินทางโดยเครื่องบินสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง


- ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) ซึ่งทางสหรัฐอเมริกากำลังกำหนดมาตรฐานการเข้าออกประเทศ เพื่อป้องกันผู้ก่อการร้าย รวมถึง e-citizen ด้วย


- การบริหารระบบคลังสินค้า (Inventory Management) โดยใช้ RFID ทำให้สามารถบริหารสต๊อกด้วยระบบ Just in time (JIT) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นระบบ RFID ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านต้นทุนในการบริหารสินค้าคงคลัง ทำให้ไม่ต้องสต๊อกของมากเกินความจำเป็น เงินทุนไม่จม และไม่ต้องมีภาระรับผิดชอบจากปัญหาของเสียจากการเก็บสินค้านานเกินไป


- ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ (Immobilizer) ป้องกันการขโมยรถยนต์


- ห้องสมุดดิจิตอล ใช้ในการยืมคืนหนังสืออัตโนมัติและใช้ตรวจสอบว่าหนังสืออยู่ผิดที่หรือเปล่า มีหนังสือเหลืออยู่ที่ชั้นกี่เล่มโดยไม่ต้องไปนับด้วยตัวเอง


- โรงพยาบาลบางแห่งในเอเชียได้นำป้ายระบบนี้มาใช้ในการระบุคนไข้โรคซาร์ (SARS) และสถาบันด้านสาธารณสุขบางแห่งเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในการใส่ประวัติการเจ็บป่วยและสุขภาพของคนไข้ให้ห่วงที่ผูกข้อมือขณะอยู่ในโรงพยาบาล


- กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณกว่า 11,000 ล้านบาท ในการพัฒนา RFID มาติดตามการขนส่งอาวุธ เพื่อป้องกันการโจรกรรม


- บ่อนคาสิโนได้นำ RFID ฝังลงในชิปที่ใช้แทนค่าเงิน ซึ่งจะมีประโยชน์โดยช่วยป้องกันการนำแผ่นชิปปลอมมาใช้


- เทคโนโลยี “เวอร์ชิป” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีติดตามตัวขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าว ฉีดเข้าในร่างการมนุษย์ เพื่อใช้ในการติดตามตัวและช่วยเหลือจากการถูกลักพาตัว โดยใช้ร่วมกับเทคโนโลยี










RFID กำลังกลายเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกต้องติดตามเมื่อมีการประยุกต์ใช้ในการค้าระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของโลกหลายรายได้มีการใช้งาน RFID อย่างจริงจัง รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐและหลายๆประเทศได้ผลักดันให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อให้เกิดมาตรฐานกลางขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั่วโลก







รูปที่ 1 แสดงการรับส่งข้อมูล RFID และระบบคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปแล้ว องค์กรต่างๆเข้าใจผิดว่า RFID จะมาแทนที่ barcode แค่นั้น ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ของ RFID ที่ไม่ค่อยคุ้มค่า และยังไม่ได้มองเผื่ออนาคต ทำให้ไม่มีการเตรียมการสำหรับการจัดการข้อมูล Transaction ที่จะเกิดขึ้นในแบบ real-time จากระบบ RFID โดยมักจะสนใจเพียงในแง่ว่าทำอย่างไรให้ Tags ราคาถูกลงหรือมองที่ค่าใช้จ่ายเพียงด้านเดียว และมีน้อยมากที่จะสนใจในแง่ของข้อมูลที่จะสามารถเก็บได้จากระบบ RFID เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถ้าเราสนใจที่จุดนี้ จะสามารถมองภาพรวมของระบบที่จะเกิดขึ้น พร้อมวางแผนและดำเนินการพัฒนาระบบให้ตอบสนองกับกลยุทธ์ขององค์กร และจะประสบปัญหาด้านการ integration น้อยกว่าในระยะยาว ซึ่งแนวความคิดของ middleware จะมารองรับตรงจุดนี้ได้


โอกาสหน้าจะมาเขียนถึงหลักการทำงานของ RFID ในเชิงกายภาพและ specification ของอุปกรณ์ มาตรฐานต่างๆ เช่น EPC GS1 รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้ rfid มาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: